การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมานับได้ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเผชิญหน้า พร้อมทั้งต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะองค์กรหรือธุรกิจที่ต้องหันมาทำการตลาดออนไลน์เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในยุคปัจจุบัน เพราะการทำ digital marketing หรือ การทำการตลาดออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการขายสินค้าหรือบริการออนไลน์นับได้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้กลยุทธ์การตลาดที่ดีและการวางแผนอย่างรอบคอบ และธุรกิจต้องมีความพร้อมที่จะรับมือกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีบริการใหม่ ๆ ซึ่งมาในรูปแบบของผู้ให้บริการ รับทำการตลาดออนไลน์ หรือ รับทำ digital marketing เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีให้กับกลุ่มนักธุรกิจหน้าใหม่ที่ต้องการทำการตลาดออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การสร้างแบรนด์ที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ รวมไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับการทำการตลาดออนไลน์ หรือ การทำ digital marketing ถือได้ว่ามีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานในการทำการตลาดออนไลน์หรือ digital marketing โดยตรง ในบทความนี้ทางเราจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ “4 เรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์” เพื่อเป็นข้อมูลดี ๆ ให้กับทุกท่านที่กำลังสนใจอยากจะศึกษาเรื่องนี้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูข้อมูลเพิ่มเติมกันได้เลย
- เรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์
- ควรรู้จักแบรนด์ของตัวเอง
เมื่อเป็นเจ้าของแบรนด์ สิ่งสำคัญที่ต้องทำก็คือ การรู้จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจ ว่าเราเริ่มต้นจากที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่ต้องรับช่วงต่อหรือเป็นธุรกิจที่เกิดจากความหลงใหลของเราเอง การทบทวนเรื่องราวของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถเล่าเรื่องราวให้คนอื่นเข้าใจและจดจำได้ รวมไปถึงการค้นหาจุดเด่นที่ทำให้แบรนด์ของเราแตกต่างจากแบรนด์อื่น นอกจากนี้ การตั้งเป้าหมายของธุรกิจก็นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้เรามีแนวทางในการดำเนินธุรกิจไปในทิศทางที่ต้องการ และช่วยให้เราคิดว่าจะต้องใช้วิธีการใดเพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยอาจจะเริ่มต้นจากการสร้างเรื่องราวให้กับแบรนด์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริโภครู้จักและจดจำคุณค่าของสินค้าหรือบริการ การเข้าใจเรื่องราวของตนเองและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะทุกแบรนด์มีเรื่องราวและคุณค่าที่แตกต่างกัน การสื่อสารอย่างเหมาะสมและน่าจดจำจะช่วยสร้างความประทับใจและสร้างความภักดีให้กับลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจกลายเป็นแบรนด์ที่ลูกค้านึกถึงเป็นอันดับแรกนั่นเอง
- รู้จักลูกค้าหรือผู้บริโภค
เป็นผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้า เราจำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าของเราอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นข้อดีหรือข้อเสีย เพื่อที่จะรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเป็นแบบไหน อย่างไร ในส่วนนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ โดยจะต้องศึกษาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเพศ อายุ รายได้ และข้อมูลทางจิตวิทยาที่เป็นแรงจูงใจ
นอกจากนี้ยังต้องศึกษาข้อมูลเชิงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อปรับให้สินค้าของเราสามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการอยากจะทำการตลาดออนไลน์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีได้อย่างรวดเร็ว สามารถขอคำปรึกษาและติดต่อเพื่อขอใช้บริการบริษัท รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำ digital marketing ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งบางบริษัทมีเปิดให้บริการเป็นที่ปรึกษา ช่วยวางแผนการตลาดและวางกลยุทธ์การตลาดอย่างครบวงจรร่วมด้วย นับได้ว่าตอบโจทย์ให้กับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการอยากจะทำการตลาดออนไลน์ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก
- รู้จักคู่แข่งขันให้มากยิ่งขึ้น
เริ่มต้นด้วยการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของธุรกิจ ว่ามีความคล้ายหรือเหมือนกับแบรนด์อื่น ๆ ในตลาดบ้างหรือไม่ และสินค้าเหล่านั้นสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าแบบไหน อย่างไร จากนั้นให้เริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลของคู่แข่งโดยใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างเช่น การวิเคราะห์ SWOT Analysis หรือ TOWS Matrix เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจผ่านกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT และ Tows มีดังนี้
SWOT
- จุดแข็ง Strengths
“Strengths” หมายถึง จุดเด่นของธุรกิจ ความได้เปรียบคู่แข่งขัน อย่างเช่น ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, การมีต้นทุนที่ต่ำ, การตลาดที่ดีกว่า, กลยุทธ์ทางการตลาดที่ครอบคลุม หรือดีไซน์ของสินค้าที่โดดเด่นและเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจของคุณมีความได้เปรียบในตลาด ผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการลงทุนในด้านต่างๆที่สามารถศักยภาพในการทำธุรกิจ เช่น การให้คอร์สเรียนให้กับพนักงานภายในองค์กรเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะ, การเข้าใจความสามารถที่เหมาะสมในงาน, การรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการให้สูงเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานและเพื่อรักษาความพึงพอใจของลูกค้า เป็นต้น
- จุดอ่อน Weakness
สิ่งที่บ่งบอกได้ว่าเป็นจุดอ่อนหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร เช่น ความสามารถของพนักงาน, ความขัดแย้งระหว่างคนในองค์กร, มาตรการการทำงาน, ค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียม, หรือความเข้าใจในธุรกิจที่ไม่เพียงพอของผู้ประกอบการ ฯลฯ ทุกอย่างเหล่านี้นับได้ว่ามีผลต่อการดำเนินธุรกิจทั้งหมด ธุรกิจควรระมัดระวังในการจัดการเพื่อลดผลกระทบลดลง เพราะในความเป็นจริงแล้วนั้น จุดอ่อนเหล่านี้จะไม่สามารถถูกกำจัดออกจากองค์กรได้ทั้งหมด แต่เราควรรู้จุดอ่อนที่เกิดขึ้นและพยายามแก้ไขอย่างรวดเร็ว
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนในองค์กร เราควรเข้าใจสาเหตุของปัญหานั้นอย่างลึกซึ้ง เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสมและสามารถประนีประนอมให้ได้มากที่สุด เหมือนเราเป็นพนักงานคนหนึ่งในสถานการณ์นั้น หรืออาจจะเป็นจุดอ่อนที่เกี่ยวกับความสามารถของพนักงาน หรือแม้กระทั่งเจ้าของธุรกิจเอง ในกรณีนี้การแก้ไขอาจจะเหมือนกับการพัฒนาจุดแข็ง คือ การลงทุนในคอร์สเรียนที่จำเป็นสำหรับธุรกิจของตน เพื่อเพิ่มศักยภาพของคนในองค์กรให้คุ้มค่ากับทรัพยากรที่สูญเสียไป นอกจากนี้ ยังต้องทันสถานการณ์ในตลาดและเข้าใจงานที่ทำอย่างชำนาญร่วมด้วย
- โอกาส Opportunity
“โอกาส” คือสิ่งที่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจจากภายนอก โดยที่องค์กรเองอาจไม่ได้ตั้งใจด้วยซ้ำ โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถช่วยในการพัฒนาองค์กร เช่น กระแสข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบธุรกิจของเรา หรือ นโยบายของภาครัฐที่ส่งผลต่อการตลาดในสายงานธุรกิจ เป็นต้น
- อุปสรรค Threats
“อุปสรรค” หมายถึง ผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าธุรกิจไม่สามารถรับมือกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการอย่างร้ายแรง และอาจส่งผลให้ธุรกิจต้องปิดกิจการไปในที่สุด สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้มีหลายประการ
ยกตัวอย่างเช่น สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน, ความนิยมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น
TOWS
- กลยุทธ์เชิงรับ
การใช้ข้อมูล (W) และ (T) จาก SWOT เพื่อหาวิธีในการลดความเสี่ยงจากผลกระทบในปัจจัยทั้ง 2 อย่าง ซึ่งเราทุกคนมักจะเห็นกันเป็นประจำ นั่นก็คือ การปิดหรือลดสาขาธุรกิจ โดยไม่ว่าจะเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจหรือปัญหาภายในที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างรุนแรงมากกว่าได้รับผลดี
- กลยุทธ์เชิงรุก
การปรับปรุงข้อมูลจุดแข็งที่ได้จาก (S) และ (O) ของ SWOT เพื่อให้เข้ากับโอกาสทางธุรกิจที่มีให้มีความเหมาะสม ช่วยให้เกิดเป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างผลกำไรหรือคุณค่าทางการตลาดได้อย่างเห็นผล
ยกตัวอย่างเช่น การปรับรูปแบบของสินค้าที่ได้รับความนิยมให้ตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคมากกว่าเดิม เป็นต้น
- กลยุทธ์เชิงป้องกัน
การใช้ข้อมูลจากส่วน (S) และ (T) ของ SWOT เพื่อทำการตอบโต้อุปสรรคจากปัจจัยภายนอกและภายใน เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถวางกลยุทธ์ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อองค์กรมีสินค้าใหม่ อาจเลือกขายผ่านช่องทางเดิมที่มีลูกค้าติดตามอยู่แล้ว โดยที่ไม่ต้องลงทุนในการสร้างช่องทางใหม่ที่อาจจะต้องเผชิญกับคู่แข่งในหลายด้าน การเลือกที่จะขายผ่านช่องทางเดิมที่มีคนติดตามอยู่ จะสามารถช่วยป้องกันการตัดราคาของคู่แข่งขัน ทำให้องค์กรสามารถรักษากำไรได้ดีกว่าและเพิ่มความแข็งแกร่งในตลาดได้ในระยะยาว
- กลยุทธ์เชิงแก้ไข
การนำข้อมูลในส่วนของโอกาสทางการตลาด (O) และจุดอ่อน (W) มาสร้างเป็นกลยุทธ์เพื่อนำเอาโอกาสที่มีไปลดจุดอ่อนขององค์กรหรือธุรกิจ
ยกตัวอย่างเช่น การมองหาคู่ค้าหรือแหล่งต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาถูกลงเพื่อลดต้นทุน หรือ การมีซัพพลายเออร์ที่ดีนับได้ว่าเป็นความโชคดีของกลุ่มคนทำธุรกิจเป็นอย่างมาก
- รู้จักใช้สื่อออนไลน์
ปัจจุบันมี Social Media หลากหลายช่องทางที่ธุรกิจสามารถเลือกใช้ได้ เช่น Facebook, Instagram, Line, TikTok และอื่นๆ ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่องทางที่สามารถเชื่อมต่อกับผู้คนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย ในปีนี้มีข้อมูลว่าคนไทยมีแนวโน้มใช้ Social Media เพื่อค้นหาแบรนด์ที่สนใจถึง 55.5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สำคัญที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการซื้อสินค้าและการตลาดของคนไทยในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมก็นับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากที่สุด โดยจะต้องทำการวิเคราะห์ลึกลงไปถึงพฤติกรรมการรับชมสื่อของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่จะนำเสนอสื่อต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง
สุดท้ายนี้ ในเรื่องของการทำการตลาดออนไลน์นั้น นอกจากจะต้องทำความรู้จักกับ 4 เรื่องพื้นฐานในข้างต้นแล้ว ไอเดียสดใหม่ก็เป็นอีกอย่างที่ควรให้ความสำคัญ การที่เรารู้จักแบรนด์ของตัวเอง รู้จักคู่แข่งขัน เราจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอดด้วยการวิเคราะห์สินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ ด้วยการนำเสนอข้อมูลหรือแคมเปญต่าง ๆ ผ่านทางออนไลน์ แน่นอนว่าเรื่องเหล่านี้เป็นแค่เรื่องพื้นฐานที่ควรทำความเข้าใจ แต่การทำการตลาดออนไลน์ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่จะทำให้แบรนด์เติบโตได้อย่างยั่งยืน ส่วนท่านใดที่อยากผลักดันธุรกิจให้เติบโตด้วยการทำการตลาดออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยังคงสามารถใช้บริการบริษัท รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำ digital marketing ที่คุณไว้วางใจได้เช่นเดียวกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์ให้กับทุกธุรกิจได้เป็นอย่างมาก