การตลาดออนไลน์ และ การทำ digital marketing นับได้ว่ามีหลากหลายรูปแบบ นอกเหนือจากการขายสินค้า สร้างแบรนด์ หรือทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย ยังมีวิธีที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่งคือ Affiliate Marketing หรือการตลาดแบบพันธมิตร ซึ่งเป็นที่นิยมในต่างประเทศแต่ยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนักในประเทศไทย Affiliate Marketing เป็นการทำการตลาดโดยช่วยขายสินค้าหรือบริการให้กับบริษัทพันธมิตร โดยคุณจะได้รับค่าคอมมิชชั่นเมื่อมีการขายเกิดขึ้น วิธีนี้แตกต่างจากการขายตรง เพราะคุณไม่จำเป็นต้องมีสินค้าเป็นของตัวเอง หลายคนอาจสงสัยว่าจะเริ่มต้นอย่างไรและสร้างรายได้แบบไหน การทำ Affiliate Marketing เหมาะสำหรับผู้ที่มีช่องทางออนไลน์อยู่แล้ว เช่น บล็อก เว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดีย โดยเริ่มจากการเลือกสินค้าที่เหมาะกับกลุ่มผู้ติดตาม แล้วนำเสนอผ่านช่องทางของคุณอย่างสร้างสรรค์ และสำหรับท่านใดที่อยากจะรู้ว่า Affiliate Marketing คืออะไร? สามารถสร้างรายได้ได้อย่างไร? ทางเราได้ทำหน้าที่รวบรวมคำตอบทั้งหมดมาไว้ให้ในบทความนี้แล้วค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูคำตอบกันได้เลย!
affiliate Marketing คืออะไรกันแน่?
Affiliate Marketing เป็นหนึ่งในรูปแบบ การตลาดออนไลน์ ที่ธุรกิจใช้ตัวแทนในการโปรโมตและขายสินค้า โดยตัวแทนสามารถเป็นใครก็ได้ และเมื่อมีการขายผ่านตัวแทนเหล่านั้น ธุรกิจจะจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบค่าคอมมิชชั่นให้ หากตัวแทนทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ฟังดูแล้วอาจจะคล้ายกับโมเดลธุรกิจที่หลายคนคุ้นเคย อย่างการเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่นายหน้าจะรับทรัพย์จากเจ้าของ เช่น บ้านหรือคอนโด เพื่อหาผู้เช่าหรือผู้ซื้อ หากทำได้ก็จะได้รับเปอร์เซ็นต์จากการขายหรือการเช่าเป็นค่าตอบแทน
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างสำคัญของ Affiliate Marketing คือการดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น ทำให้เป็นการทำการตลาดแบบ Digital Marketing ที่เหมาะสำหรับธุรกิจในยุคดิจิทัล วิธีการทำ Affiliate Marketing นั้นมีหลากหลายและสามารถปรับใช้ได้ในหลายธุรกิจ ซึ่งเราจะอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อต่อไป
องค์ประกอบของ Affiliate Marketing
- ผู้ที่ต้องการทำโฆษณาหรือจำหน่ายสินค้า/แบรนด์ รวมถึงเจ้าของธุรกิจ
ในฝั่งของผู้ขายหรือผู้ให้บริการ อาจเป็นได้ทั้งผู้ค้าปลีกที่มีผลิตภัณฑ์ในตลาด เจ้าของธุรกิจรายเดียว หรือแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ สิ่งที่ผู้ขายต้องการจากการทำ Affiliate Marketing คือ ทำ การตลาดออนไลน์ หรือ ทำ digital marketing เพื่อโปรโมตสินค้าและบริการของตนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยการลงทุนเงินเพื่อใช้โปรโมตผ่าน Affiliate ซึ่งจะต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าคอมมิชชั่นให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ รวมถึงตัวแทนที่เข้ามาช่วยโปรโมต ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำสินค้าหรือบริการ และช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้กับธุรกิจร่วมด้วย
- เจ้าของสื่อ ช่องทาง เว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดีย รวมถึงตัวแทนที่ดำเนินการด้าน Affiliate Marketing
ในฝั่งของเจ้าของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์, เพจ Facebook, บล็อกเกอร์, หรือเจ้าของแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการโปรโมตสินค้าให้กับแบรนด์ผ่านช่องทางที่ตนมีอยู่ โดยการทำ Affiliate Marketing ตัวแทนเหล่านี้จะได้รับค่าตอบแทนเป็น “ค่าคอมมิชชั่น” (Commission) เมื่อสามารถนำเสนอสินค้าและเกิดยอดขายจริงจากการแนะนำ สิ่งที่ตัวแทนต้องลงทุน คือ เวลา ในการทำ การตลาดออนไลน์ และ ค้นหาความรู้เกี่ยวกับการตลาดและการทำ digital marketing เพื่อวางแผนโปรโมตสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การทำ Affiliate Marketing จึงเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างรายได้ให้กับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและช่องทางออนไลน์ที่แข็งแกร่งนั่นเอง
- ผู้ซื้อสินค้า (Customer)
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือผู้ที่เจ้าของธุรกิจหรือแบรนด์ต้องการดึงดูดให้เข้ามารู้จักและซื้อสินค้าผ่านการโปรโมตของเจ้าของสื่อ เช่น เว็บไซต์, โซเชียลมีเดีย, หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนใน Affiliate Marketing โดยการโปรโมตสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางเหล่านี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างความน่าสนใจและความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ รวมถึงกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้ามาซื้อสินค้า สร้างยอดขาย และทำให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาว
ประเภทของ Affiliate Marketing
- Unattached Affiliate Marketing
Unattached Affiliate Marketing เป็นรูปแบบการตลาดแบบพันธมิตรที่แบรนด์และตัวแทนไม่ได้รู้จักหรือมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ตัวแทนสามารถทำ การตลาดออนไลน์ หรือ ทำ digital marketing เพื่อโปรโมตสินค้าหรือบริการผ่านการใช้พื้นที่โฆษณาบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น การยิง Google Ads เพื่อให้โฆษณาปรากฏแก่กลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม การโปรโมตในลักษณะนี้มักเป็นเพียงการโฆษณาที่ผ่านสายตาผู้ชมเท่านั้น ทำให้ Unattached Affiliate Marketing ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการสร้างยอดขายหรือผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากนัก เนื่องจากขาดการเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนกับสินค้า
- Related Affiliate Marketing
การทำ Affiliate Marketingในรูปแบบนี้ คือการที่แบรนด์และตัวแทนมีสินค้าหรือแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกัน หรืออยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน เช่น ตัวแทนที่รับทำ Affiliate Marketing อาจเป็นผู้เปิดเว็บไซต์เกี่ยวกับการทำอาหาร และเขียนบล็อกรีวิวสินค้าทำอาหาร เช่น “10 อันดับหม้อทอดไร้น้ำมันที่ดีที่สุด” จากนั้นแปะ Affiliate Link ของสินค้าที่รีวิวไว้บนบล็อก เมื่อลูกค้าหรือผู้อ่านเข้ามาชมเว็บไซต์แล้วสนใจในบทความ ก็มีโอกาสสูงที่จะคลิกลิงก์ไปยังหน้าสินค้าที่รีวิวไว้ ทำให้การโปรโมตในรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
- Involved Affiliate Marketing
การทำ Affiliate Marketing ในรูปแบบที่แบรนด์และผู้ทำ Affiliate Marketing เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน มักเกิดจากการสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ทำ Affiliate Marketing เปิดโรงแรมและมีเว็บไซต์ของโรงแรมเอง เมื่อผู้เยี่ยมชมค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรม ในแถบด้านข้างอาจปรากฏแบนเนอร์ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ทัวร์ ซึ่งผู้เข้าชมก็อาจคลิกลิงก์และซื้อทัวร์หลังจากดูรายละเอียดโรงแรมแล้ว นอกจากนี้ หากมีการตกลงกันดี ก็อาจสร้างเป็นแพ็คเกจพิเศษ เช่น การจองโรงแรมพร้อมทัวร์และได้รับส่วนลด ซึ่งจะช่วยให้ทั้งฝั่งแบรนด์ที่ต้องการโฆษณาและฝั่งผู้ทำ Affiliate Marketing ได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เกิดความสำเร็จทั้งสองฝ่าย
รูปแบบรายได้ของ Affiliate Marketing
- การจ่ายต่อคลิก Pay Per Click (PPC)
ในขั้นตอนนี้ ตัวแทนต้องพยายามดึงกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสสนใจสินค้าให้คลิกเข้ามาอ่านรายละเอียด ทำความรู้จัก และดูสินค้าผ่าน Affiliate Link โดยการคลิกนั้นอาจนำไปสู่การปิดการขายได้ ในฝั่งแบรนด์จะให้ค่าตอบแทนกับตัวแทนเมื่อมีคนคลิกลิงก์ ไม่ว่าจะเกิดการขายหรือไม่ก็ตาม เช่น แบรนด์อาจจ่ายค่า PPC (Pay-Per-Click) ต่อคลิกในอัตรา 5 บาท หากตัวแทนนำโฆษณาไปติดในเว็บไซต์ของตน และเกิดการคลิก 1 ครั้ง ตัวแทนก็จะได้รับค่าตอบแทน 5 บาทจากการคลิกนั้น การทำแบบนี้ช่วยให้ตัวแทนสร้างรายได้ได้ต่อเนื่องจากการโปรโมต
- การจ่ายตามจำนวนลูกค้าเป้าหมาย Pay Per Lead (PPL)
รูปแบบนี้คือการตามหา Lead หรือกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะซื้อและยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ, อีเมล, หรือเบอร์โทรศัพท์ ให้กับทางธุรกิจ ซึ่งธุรกิจจะจ่ายค่าตอบแทนเมื่อผู้ทำ Affiliate Marketingสามารถดึงให้กลุ่มเป้าหมายมาสมัครหรือลงทะเบียนผ่านลิงก์ที่กำหนด เช่น การสมัครบัตรเครดิตหรือประกัน ตัวอย่างเช่น หากแบรนด์เสนอค่าตอบแทนแบบ PPL (Pay – Per – Lead)ในอัตรา 200 บาท นั่นหมายความว่า หากตัวแทนสามารถนำรายชื่อผู้สมัครเข้าสู่ระบบได้ 1 รายชื่อ ตัวแทนก็จะได้รับค่าตอบแทน 200 บาทต่อรายชื่อนั้น
- การจ่ายเงินตามยอดขาย Pay Per Sale (PPS)
ในรูปแบบนี้ธุรกิจจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับตัวแทนก็ต่อเมื่อ มีการซื้อสินค้าเกิดขึ้นจากการโปรโมตของตัวแทนนั้น โดยค่าตอบแทนจะถูกหักจากยอดขายสินค้า/บริการในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ หรือเป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาจกำหนดว่าหากสินค้าขายได้ 1 ออเดอร์ ตัวแทนจะได้รับค่าคอมมิชชั่น 100 บาท นี่คือวิธีการที่ช่วยกระตุ้นให้ตัวแทนมีแรงจูงใจในการโปรโมตสินค้าหรือทำ การตลาดออนไลน์ หรือ ทำ digital marketing ให้กับแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คนทำ Affiliate Marketing สามารถสร้างรายได้ได้อย่างไรบ้าง?
- ส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า ตัวแทนจะได้รับค่าตอบแทนตามเปอร์เซ็นต์จากยอดขายที่เกิดขึ้นจากการโปรโมตสินค้านั้น ๆ
- ค่าตอบแทนในรูปแบบ Commission จะจ่ายเมื่อเกิดการกระทำจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ เช่น การซื้อสินค้า, การกรอกใบสมัคร, หรือการติดตั้งโปรแกรม
- รายได้เป็นตัวเงินที่กำหนดไว้ ธุรกิจจะแจ้งอัตราค่าตอบแทนให้ชัดเจน เช่น หากทำยอด 1 คลิก, 1 รายชื่อ, หรือ 1 ออเดอร์ ตัวแทนจะได้รับเงินตามที่กำหนดนั่นเอง
เราสามารถทำ Affiliate โดยไม่มีเงินทุนได้ไหม
สำหรับตัวแทนในการทำ Affiliate Marketing สามารถเริ่มต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากเหมือนกับการทำธุรกิจส่วนตัวหรือการหาสินค้ามาขายเอง อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจะต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือออนไลน์ รวมไปถึงการทำ การตลาดออนไลน์ หรือ digital marketing เพื่อสร้างรายได้จากช่องทางนี้ เช่น การยิงโฆษณา, การสร้างเว็บไซต์, และการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ หากคุณยังไม่มีความรู้ในด้านเหล่านี้ การลงทุนเพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การทำ Affiliate Marketing ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ในฝั่งของธุรกิจนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีการลงทุนเพื่อทำ Affiliate Marketing เนื่องจากต้องจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้กับตัวแทน หรืออาจต้องจ่ายเงินให้กับ Affiliate Network ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงเจ้าของธุรกิจกับตัวแทน ทำให้การทำ Affiliate Marketing ระหว่างทั้งสองฝ่ายเป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกยิ่งขึ้น การใช้ Affiliate Network ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มตัวแทนที่หลากหลาย และมีประสิทธิภาพในการโปรโมตสินค้าหรือบริการของตนอีกด้วย